ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบ
คอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ
การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม
การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบ
ปฏิบัติการ ซึ่งช่วยให้มนุษย์ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้
เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ
ให้แสดงภาพให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์เนื่องจากระบบ
ปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับฮาร์ดแวร์
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับเข้า และหน่วยส่งออก
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้น
เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ
การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ( load ) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้
เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น
ระบบปฏิบัติการกับการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการงานของคอมพิวเตอร์
ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ
ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งาน
หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ
ควบคุมการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้
ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก
นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำงานในลักษณะกลุ่ม
และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง
ทำให้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆจำเป็นต้องมีความสามารถในการ
ทำงานและให้บริการบนเครือข่ายเพิ่มขึ้นโดยระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดการงาน
ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จัดสรรให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อม
ในเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน เช่น
การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน และ
ควบคุมดูแลการใช้งานข้อมูลส่วนกลางซึ่งอยู่ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นแม่ ข่าย
โดยสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่ม
มีระบบป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับข้อมูล
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้
แต่ด้วยเครื่องคอมพิวคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตก
ต่างกัน เช่น
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตก
ต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์
ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์
ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโคร
คอมพิวเตอร์และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้ เป็น 3
ประเภทดังนี้
1)
ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking)
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่า
นั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส
2)
ประเภทใช้หลายงาน (multitasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน
ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน
โดยระบบปฏิบัติการจัดสรรทั้งเวลาและเนื้อที่ที่ต้องใช้ในการประมวลผลคำสั่ง
ของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด เช่น
แบ่งปันเวลาในการประมวลผลของซีพียูและแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บ
ข้อมูลและคำสั่งของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ 98
3)
ประเภทใช้งานหลายคน (multiuser)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล
ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงาน
ของตนเองเชื่อต่อกับคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถใน
การจัดการสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา ระบบปฏิบัติการในกลุ่มนี้
เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมใช้งาน
ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงมีหลายชนิด
ปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานกันแพร่หลายมีดังนี้
1)
ระบบปฏิบัติการดอส ( Disk
Operating System : DOS)บริษัท
ไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นมาและให้ชื่อว่า
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้มอบหมายให้บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัติ การโดยให้ชื่อว่า
พีซีดอส ต่อมาเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์แบบนี้เป็นที่แพร่หลาย
จึงมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานแบบเดียวกับไมโครคอมพิวเตอร์ของ
บริษัทไอบีเอ็ม ไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จะใช้ระบบปฏิบัติการของ บริษัทไมโครซอฟต์
เช่นกันแต่ใช้ว่า เอ็มเอสดอส (Microsoft
Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งมีการทำงานคล้าย พีซีดอส แต่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้ว
2)
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)
เป็น
ระบบปฏิบัติการประเภทใช้หลายคน และหลายงาน
ได้มีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ให้สามารถใช้กับเครื่องชนิดต่างๆ
หลายระบบโดยตั้งชื่อใหม่ เช่น ซีนิกซ์ (Xenix) วีนิกซ์
(vinix) ไมโครนิกซ์ (Micronix) เอไอเอกซ์ (AIX) อัลทริกซ์ (Altrix) เป็นต้น
ปัจจุบันมีความพยายามจะกำหนดให้ระบบปฏิบัติการที่มีชื่อต่างๆ
เหล่านี้เป็นมาตรฐานเดียวกันโปรแกรมที่พัฒนาภายใต้ระบบยูนิกซ์นี้
มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ
3)
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows)ระบบ ปฏิบัติการนี้พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์
เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจาก 2 ระบบแรกที่กล่าวมา
เนื่องจากมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) เป็นแบบที่เรียกว่าระบบ ติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface : GUI) หรือที่เรียกว่า จียูไอ คือ
มีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการที่เลือก (MENU) หรือสัญรูป(Icon) ใน
การสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนการพิมพ์ทีละบรรทัด
ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นทั้งยังมีสีสันทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งาน
มากขึ้นระบบปฏิบัติการวินโดวส์นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูง
มากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปทั้งนี้นอกจากจะเป็นเพราะความง่ายในการ
ใช้งานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
ยังเป็นเพราะหลังจากที่บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตระบบปฏิบัติการนี้ออกสู่ตลาด
ก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นหลาย
ประเภท
ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ในกลุ่มซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
หรือซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล
ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้ในทุกๆ ด้าน
ทำให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลาย
นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ
ที่สนับสนุนการใช้งานกับเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเริ่ม
ตั้งแต่วินโดวส์รุ่นแรก
1. Windows 3.11
ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ทำงานบนเครื่องเดียวการจัดการแบบ file manager แต่ไม่นับเป็นซอฟต์แวร์ระบบ
2. Windows 95
สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
3. Windows 98
สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
4. Windows Me สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้สนับสนุนทางด้านมัลติมีเดีย
5. Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่าง
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน
และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
6. Windows 2000 Advance Server เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถจัดการด้านการติดต่อ
สื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย
จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
7. Windows XP สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
สนับ
สนุนทางด้านมัลติมีเดียสามารถจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่อง
คอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน
และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง
8. Windows CE เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพา
9. Windows Vista เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์เฉพาะเครื่อง
4)ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
(Linux)เป็น
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ระบบหนึ่งเช่นเดียวกับซีนิกซ์หรือวีนิกซ์
ได้รับการพัฒนาโดยนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยเฮลซินกิ
ประเทศฟินแลนด์ชื่อลีนุซ ทอร์วาลด์ (Linus Torvalds)เขาเริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าวในปี พ.ศ. 2523 ด้วยเขาต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติยูนิกซ์ที่มีความสามารถมากกว่าไมนิกซ์ซึ่ง
เขาใช้งานอยู่ จึงเริ่มต้นพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้เอง
โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากระบบยูนิกซ์อื่นเลย และในปี พ.ศ. 2534
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เวอร์ชั่น 0.010 ก็ได้รับการเผยแพร่ โดยมีการแจกให้ใช้งานฟรีรวมทั้งรหัสต้นแบบ
(source code) ก็เป็นที่เปิดเผย
จึงเป็นที่นิยมและมีผู้นำไปพัฒนาลีนุกซ์ของตนเองขึ้นใช้งานมากมาย
รวมทั้งมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ขึ้นใช้งานบนลีนุกซ์อีกด้วย 5)ระบบปฏิบัติ MAC OS X พัฒนา มาจากรุ่น MAX OS 9 (X คือ
เลข10 แบบโรมันเป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องของบริษัท
แอปเปิ้ลเท่านั้น ซึ่งเน้นงานประเภทกราฟิก และศิลปะเป็นหลัก
ทั้งนี้รูปแบบการทำงานแบบต่าง ๆ ของ MAC OS X จะสนับสนุนแบบ
GCI เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ WINDOWS ด้วยเหตุที่มีผู้นำรหัสต้นแบบของ
ระบบปฏิบัติการระบบนี้
มาพัฒนาเป็นของตนเองมากมายและเนื่องจากในปัจจุบันแนวคิดของจียูไอกำลังเป็น ที่นิยม
จึงมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ให้สามารถทำงานบนระบบเอกซ์วินโดวส์ (X Windows) ซึ่งเป็นระบบที่มีการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก
และถือได้ว่า ลินุกซ์เป็นยูนิกซ์ที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
ประสิทธิภาพไม่สูงมาก เช่น เครื่องในตระกูล 80386 ได้ และต้องการหน่วยความจำเพียง
2 เมกะไบต์ในการทำงานบนสภาวะตัวอักษร (text mode) หรือ
64 เมกะไบต์ในการทำงานบนเอกซ์วินโดวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น