วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ซอฟแวร์


ซอฟแวร์
  คือ การลำดับขั้นตอนของการทำงาน ของคำสั่งที่จะทำหน้าที่ส่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรม นำมารวมกันให้สามารถใช้งานครบถ้วน
หน้าที่ของซอฟแวร์
    ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟแวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
ประเภทของซอฟแวร์

  แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
 1) ซอฟแวร์ระบบ
 2) ซอฟแวร์ประยุกต์
 3) ซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ

      1) ซอฟแวร์ระบบ 
เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อให้จัดการกับระบบ การทำงานคือ การดำงานพื้นฐานต่างๆซอฟแวร์ระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows,Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง

หน้าที่ของซอฟแวร์ระบบ
1) ในการจัดการหน่วยรับข้อมูล และส่งออกเช่น รับรู้ การกดแป้นต่างๆ
2 )ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกันคือ นำเอาข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้มากขึ้น
ประเภทของซอฟแวร์ระบบ
    แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) ระบบปฏิบัติการ
2 )ระบบแปลภาษา

         ระบบปฏิบัติการหรือที่เรียกว่า OS เป็นซอฟแวร์ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะต้องมีซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการนี้ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากก็เช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกส์ ลีนุกส์ และแม้อินทอสเป็นต้น
        1) ระบบปฏิบัติการ
             1) ดอส เป็นซอฟแวร์ที่จัดการทำงานพัฒนามาแล้วการใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟแวร์ที่รู้จักกันดี ในหมู่ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในอดีตปัจจุบันระบบปฏิบัติการ ดอส นั้นมีงานใช้งานน้อยมาก
             2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถส่งงานโดยเมาส์มาขึ้น แทนการแผงแป้นอักขระ เพียงอย่างเดียว
             3) ยูนิกส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนา มาตั้งแต่ครั้งที่ใช้กับเครื่องมือมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด
             4) ลีนุกซ์ เป็นระบบที่ปฏิบัติการที่พัฒนาจากระบบยูนิกส์เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปีแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติ
                 ระบบลีนุกซ์สามารถทำงานได้บนซีพียู หลายตระกลูเช่น อินเทล ดิจิตอล และชันสปาร์ค
             5) แมคอินทอซ เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอซส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิกออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
ชนิดของระบบปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1) ประเภทใช้งานเดี่ยว ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ ใช้งานได้ครั้งละ1งานเท่านั้น
2 )ประเภทใช้หลายงาน สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงาน
3) ประเภทใช้งานหลายคน ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีของตนเอง เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถ

      2) ตัวแปลภาษา
       การพัฒนาซอฟแวร์ ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระบบสูงเพื่อ แปลภาษาระดับสูง
                ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมชุดคำสั่งเข้าใจง่าย และเพื่อให้ปรับซอฟแวร์ในภายหลังได้ง่าย

ระบบคอมพิวเตอร์


ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนขอโรงพยาบาล เป็นต้น การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์    
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)
                
 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)  หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์

ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน         
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม         
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ

บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์        
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)        
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)        
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)        
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)        
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)

อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้ เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการงานที่มอบหมาย



คอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง

ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
•  คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกเป็น  5  ส่วนคือ  
ส่วนที่1  หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)  เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
- แป้นอักขระ (Keyboard)
- แผ่นซีดี (CD-Rom)
-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนที่2  หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่3  หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่4  หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน